โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และภาวะไตวายเรื้อรัง ได้กลายเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีพลังงาน ไขมัน โซเดียม และน้ำตาลสูง การลดความเสี่ยงด้วยการเลือกบริโภคอาหารที่มีสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” ช่วยคุณได้
สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” (Healthier Choice) เป็นเครื่องหมายบนฉลากอาหารที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นมีปริมาณสารอาหารผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม โดยเฉพาะปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ผลิตภัณฑ์ที่ได้สัญลักษณ์นี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
ประโยชน์ของสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ”
- ช่วยให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าโภชนาการที่เหมาะสมต่อสุขภาพมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน
- ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมตระหนักถึงการปรับสูตรอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการมีภาวะโภชนาการที่ดีของผู้บริโภค
กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่จะพบสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” แสดงบนฉลาก มีจำนวน 13 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มอาหารมื้อหลัก (Meal)
- กลุ่มเครื่องดื่ม (Beverage) ได้แก่ น้ำผัก/น้ำผลไม้ 100% น้ำผัก น้ำผลไม้ น้ำอัดลม และน้ำหวาน
กลิ่นรสต่าง ๆ เครื่องดื่มธัญพืช น้ำนมถั่วเหลือง เครื่องดื่มช็อกโกแลต โกโก้ มอลต์สกัด และเครื่องดื่ม
ที่มีส่วนประกอบของนมหรือโปรตีน ชาปรุงสำเร็จ กาแฟปรุงสำเร็จ - กลุ่มเครื่องปรุงรส (Seasoning) ได้แก่ น้ำปลา ซอสปรุงรส และซีอิ๊ว ซีอิ๊วดำ ซีอิ๊วหวาน น้ำจิ้มหวาน (เช่น น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มบ๊วย) ซอสหอย ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ ซอสอื่น ๆ สำหรับจิ้ม (เช่น ซอสเปรี้ยว น้ำจิ้มซีฟู้ด น้ำจิ้มแจ่ว น้ำจิ้มข้าวมันไก่) ซอสอื่น ๆ สไตล์ตะวันตก (เช่น ซอสบาร์บีคิว ซอสมัสตาร์ด) น้ำจิ้มสุกี้
- กลุ่มผลิตภัณฑ์นม (Dairy product) ได้แก่ น้ำนมสด น้ำนม นมผง (นมรสธรรมชาติ นมจืด) นมปรุงแต่ง ผลิตภัณฑ์ของนม นมเปรี้ยว (ชนิดกึ่งแข็งกึ่งเหลว และชนิดพร้อมดื่ม) ผลิตภัณฑ์นมชนิดผง
- กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป (Instant food) ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวต้มและโจ๊กที่ปรุงแต่ง แกงจืดและซุปชนิดเข้มข้น ชนิดก้อน ชนิดผง หรือชนิดแห้ง
- กลุ่มขนมขบเคี้ยว (Snack) ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบทอดหรืออบกรอบ อาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง สาหร่ายทอดหรืออบกรอบ หรือเคลือบปรุงรสปลาเส้นทอด หรืออบกรอบหรือปรุงรส ขนมปังกรอบ หรือแครกเกอร์ หรือบิสกิต เวเฟอร์สอดไส้ถั่ว นัต และเมล็ดพืชแห้ง
- กลุ่มไอศกรีม (Icecream)
- กลุ่มน้ำมันและไขมัน (Fat and oil) ได้แก่ เนยเทียม มายองเนส น้ำสลัด และแซนด์วิชสเปรด
- กลุ่มขนมปัง (Bread) ได้แก่ ขนมปังไม่มีไส้
- กลุ่มอาหารเช้าธัญพืช (Breakfast cereal)
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ (Bakery products) ได้แก่ คุกกี้และเค้ก
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารว่าง (Small meal) ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารว่าง ชนิดไส้เค็ม/ไส้เนื้อสัตว์ เช่น แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ขนมปังมีไส้ และซาลาเปา กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารว่าง ชนิดไส้หวาน/ไส้ครีม/คัสตาร์ด/แยม/ผลไม้) เช่น แซนด์วิช ขนมปังมีไส้ และซาลาเปา
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากปลาและอาหารทะเล (Fish and other aquatic products) ได้แก่ เนื้อปลา
ในน้ำแร่และน้ำเกลือ เนื้อปลาในน้ำมัน เนื้อปลาในซอสมะเขือเทศ และซอสพริก ปลาและอาหารทะเลปรุงรส ปลาและอาหารทะเลทอด หรืออบกรอบ ผลิตภัณฑ์จากปลาและอาหารทะเลบด (ซูริมิ)
ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีฉลากสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” ไม่ใช่การโฆษณาหรือจัดอันดับอาหาร แม้จะช่วยลดความเสี่ยงจากการได้รับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม แต่หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ได้รับ น้ำตาล ไขมัน โซเดียม เกินความต้องการอยู่ดี ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสม โดยบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 30 กรัม และเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน หรือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี
ขอบคุณที่มา : https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/2079